วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552




น้ำใต้ดิน
น้ำใต้ดินเป็นน้ำที่ค่อย ๆ ซึมลงไปในดินอย่างช้า ๆ ผ่านช่องโหว่ในดินหรือรอยแตกในดินและรูพรุนในดิน น้ำเช่นนี้บางทีก็ลงไปลึกจากผิวดินได้หลายร้อยเมตร น้ำใต้ดินจะลงไปขังอยู่ตามแนวหิน ในที่บางแห่งมีน้ำใต้ดินซึ่งเป็นน้ำบริสุทธิ์ขังอยู่ในชั้นหินจนเป็นอ่างเก็บน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ก็มี ด้านบนของบริเวณที่อิ่มตัวของน้ำเช่นนี้เรียกว่า "ชั้นน้ำใต้ดิน" น้ำแหล่งน้ำบนผิวดิน



ความแตกต่างระหว่างน้ำบาดาล น้ำผิวดิน

น้ำบาดาล
น้ำบาดาลเกิดจากน้ำผิวดินที่ซึมผ่านชั้นดินต่างๆ ลงไปจนถึงชั้นดินหรือชั้นหินที่ไม่ซึมน้ำ และเกิดการสะสมอยู่ระหว่างช่องว่างของเนื้อดิน โดยเฉพาะชั้นดินที่เป็นกรวด ทรายหิน ปริมาณของน้ำที่ขังอยู่ในชั้นของดินดังกล่าวจะค่อยๆ เพิ่มปริมาณมากขึ้นในฤดูฝน และลดปริมาณลงในฤดูแล้ง น้ำบาดาลจะมีการถ่ายเทระดับได้เช่นเดียวกับน้ำผิวดิน มนุษย์นำน้ำบาดาลมาใช้ประโยชน์โดยการเจาะบ่อบาดาล โดยทั่วไปแล้วน้ำบาดาลจะมีคุณลักษณะทางกายภาพและคุณลักษณะทางบักเตรีอยู่ในเกณฑ์ดีกล่าวคือ มีความใสสะอาดปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ที่จะก่อให้เกิดโรคของทางเดินอาหาร ทั้งนี้เนื่องจากชั้นขอดินจะเป็นตัวกรองที่สกัดกั้นความขุ่นของเชื้อจุลินทรีย์ ไว้ขณะที่น้ำซึมผ่านชั้นดินลงไป แต่คุณสมบัติทางด้านเคมี เช่น แร่ธาตุและสารละลายต่างๆ จะมีปริมาณที่ไม่แน่นอน เนื่องจากน้ำเป็นตัวทำลายที่ดี ในขณะที่ซึมผ่านชั้นดินลงไปก็จะละลายเอาแร่ธาตุและสารในชั้นดินปะปนลงไปด้วย ดังนั้นน้ำจากบ่อน้ำบาดาลจะพบว่ามีความใสสะอาดปราศจากเชื้อโรค แต่มักมีปริมาณของแร่ธาตุและสารละลายต่างๆเจือปนอยู่ในน้ำแตกต่างกันไป และแหล่งน้ำบาดาลแต่ละแหล่งมักจะมีคุณสมบัติและองค์ประกอบทางเคมีที่คงที่ โดยทั่วๆไปน้ำบาดาลส่วนใหญ่จะมีค่าการนำไฟฟ้า(conductivity) มากกว่า 300 ไมโครซีเมนส์/เซนติเมตร

น้ำผิวดิน
น้ำผิวดิน หมายถึง ส่วนของน้ำฝนที่ตกลงสู่พื้นดินแล้วไหลลงสู่ที่ต่ำตามแม่น้ำลำคลอง ทะเลสาบ อ่างเก็บน้ำ หนองและบึง น้ำผิวดินนี้จะรวมทั้งน้ำที่ไหลล้นจากใต้ดินเข้ามาสมทบด้วย ดังจะเห็นได้จากลำธารหรือลำห้วยที่มีน้ำไหลอยู่ตลอดปี ไม่ว่าจะมีผนตกหรือไม่ ปริมาณน้ำที่ไหลในลำห้วยหรือลำน้ำในระหว่างฤดูแล้ง เป็นน้ำที่สะสมไว้ไต้ดินและซึมซับมาตลอดเวลาที่ฝนไม่ตก การไหลนองบนพื้นดิน ทำให้น้ำผิวดินได้รับความสกปรกจากสิ่งแวดล้อมในรูปต่างๆ กัน น้ำผิวดินอาจมีความขุ่นและสารอินทรีย์สูง ปริมาณเกลือแร่ในน้ำอาจมีมากหรือน้อยก็ได้ นอกจากนี้น้ำฝนยังชะล้างสารพิษต่างๆ จากบริเวณเกษตรกรรมให้ไหลมาปนเปื้อนในน้ำผิวดิน สารพิษเหล่านี้ได้แก่ โลหะหนัก ไนเทรด ฟอสเฟต ยาฆ่าแมลง เป็นต้น หรือโรงงานอุตสาหกรรม ต่างๆ ซึ่งปล่อยน้ำเสียที่ประกอบด้วยสารพิษหลายชนิดก็จะไหลมาปนเปื้อนอยู่ในน้ำผิวดินได้เช่นกัน โดยทั่วไปน้ำผิวดินจะมีปริมาณเหล็กและแมงกานีสเพียงเล็กน้อย และมีค่าการนำไฟฟ้า ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงของน้ำประปา เพราะว่าน้ำประปาส่วนใหญ่ก็ทำมาจากน้ำดิบซึ่งก็คือน้ำผิวดินนั่นเอง

แหล่งค้นหา
http://www.thaigoodview.com/
แหล่งน้ำบนผิวดิน


แม่น้ำ ลำธาร ห้วย หนอง คลอง และบึง ฯลฯ เป็นแหล่งน้ำบนผิวดิน เป็นแหล่งรวบรวมน้ำตามธรรมชาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะได้จากน้ำที่ไหลมาบนผิวดิน และบางส่วนซึมออกมาจากดิน เป็นแหล่งน้ำขนาดเล็กและขนาดใหญ่ที่จะอำนวยให้ทำการชลประทานขนาดต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี น้ำที่จะมีในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำธาร นั้น ย่อมแตกต่างกันไปตามฤดูกาล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า มีฝนตกในเขตของลุ่มน้ำอันนั้นหรือไม่ หรือว่าตกจำนวนมากน้อยเพียงไร บางวันอาจมีน้ำไหลมาในลำน้ำมากเพราะเกิดฝนตกหนัก และอาจมีระดับสูงไหลล้นตลิ่งเข้าไปท่วมเป็นประโยชน์ต่อพื้นที่เพาะปลูกได้เองตามธรรมชาติ ส่วนในฤดูแล้งไม่มีฝนตกเลยน้ำในแหล่งน้ำประเภทบ่อ หนอง และบึง ซึ่งได้เก็บน้ำในช่วงฤดูฝนไว้นั้น อาจมีน้ำให้ใช้พอบรรเทาความเดือดร้อนได้บ้าง แต่น้ำในแม่น้ำลำธาร และห้วยบางแห่ง อาจมีน้ำไหลลดน้อยลงไปหรือไม่มีเลยก็ได้

น้ำที่ไหลในแหล่งน้ำบนผิวดิน เรียกว่า " น้ำท่า " ซึ่งเป็นปริมาณน้ำท่าที่ไหลตามธรรมชาติในฤดูกาลต่าง ๆ จะมีจำนวนมากหรือน้อยอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ หลายประการดังต่อไปนี้

1. ขนาดของพื้นที่ลุ่มน้ำหรือพื้นที่รับน้ำฝน พื้นที่ลุ่มน้ำหรือพื้นที่รับน้ำฝน หมายถึง พื้นที่บริเวณหนึ่งซึ่งเมื่อมีฝนตกจนเกิดน้ำท่วมขึ้นแล้ว น้ำจะไหลมารวมลงสู่ทางน้ำหรือลำน้ำสายเดียวกัน การที่จะหาว่าลำน้ำสายหนึ่งโดยธรรมชาติจะมีขนาดพื้นที่ลุ่มน้ำเท่าใดนั้น ต้องกำหนดจุดหรือตำแหน่งบนลำน้ำเสียก่อน แล้วจึงหาพื้นที่ลุ่มน้ำด้านเหนือขึ้นไป ซึ่งน้ำท่าทั้งหมดไหลลงมาสู่จุดนั้นได้

ขนาดของพื้นที่ลุ่มน้ำหรือพื้นที่รับน้ำฝนของตำแหน่งใด ๆ ที่กำหนดในลำน้ำ เช่น ตำแหน่งที่สร้างเขื่อนหรือฝาย เป็นต้น จึงมีอาณาเขตล้อมบรรจบกันเป็นวงปิดด้วยแนวสันปันน้ำ หรือแนวสันเนินสูงสุดเหนือตำแหน่งที่กำหนดนั้น โดยพื้นที่ลุ่มน้ำจะมีขนาดใหญ่หรือเล็กสามารถหาได้จากแผนที่แสดงรายละเอียดภูมิประเทศ เช่น แผนที่มาตราส่วน 1 : 50,000 ของกรมแผนที่ทหาร ซึ่งเป็นแผนที่แสดงรายละเอียดภูมิประเทศ และระดับความสูงต่ำของผิวดินที่ได้จัดทำครอบคลุมไว้ทั่วประเทศ แผนที่ดังกล่าวนี้นอกจากจะใช้ในราชการทหารแล้ว สำหรับงานด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรายละเอียดภูมิประเทศ เช่น งานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการชลประทาน หรือเพื่อกิจกรรมด้านอื่น ๆ ก็สามารถใช้ในการวางโครงการหาขนาดพื้นที่ลุ่มน้ำเหนือแนวที่สร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ หรือฝายประกอบการคำนวณเกี่ยวกับสภาพน้ำท่า และการพิจารณาอื่น ๆ ได้ด้วย

2. สภาพฝนที่ตกในพื้นที่ลุ่มน้ำ สภาพของฝนที่ตกในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำ มีอิทธิพลโดยตรงต่อน้ำท่าที่เกิดขึ้น ดังนี้

2.1 ความเข้มของฝนที่ตก หมายถึง ปริมาณน้ำฝนที่ตกในหนึ่งหน่วยเวลา วัดเป็นมิลลิเมตรต่อนาที หรือวัดเป็นมิลลิเมตรต่อชั่วโมง ความเข้มของในที่ตกมีอิทธิพลเกี่ยวกับอัตราการไหลซึมของน้ำลงไปในดินแล้ว ปริมาณน้ำท่าที่ไหลบนผิวดินจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามการเพิ่มของอัตราความเข้มของฝนที่ตก อย่างไรก็ตามปริมาณน้ำท่าที่ไหลบนผิวดินจะไม่เพิ่มเป็นสัดส่วนโดยตรงกับจำนวนน้ำฝนที่เหลือจากการซึมสูญหายลงไปในดินเท่าใดนัก ทั้งนี้ เนื่องจากน้ำฝนที่เหลือดังกล่าวในพื้นที่ลุ่มน้ำมักจะถูกเก็บขังในลักษณะน้ำนองในที่ลุ่มก่อนที่จะไหลหลากเป็นน้ำท่า

2.2 ระยะเวลาที่ฝนตก ระยะเวลาที่ฝนตกในพื้นที่ลุ่มน้ำมีส่วนสำคัญที่จะทำให้เกิดน้ำท่าหรือไม่ หรือเกิดจำนวนมากหรือน้อยเพียงไร เมื่อฝนตกครั้งหนึ่ง ๆ นอกจากนั้นระยะเวลาที่ฝนตกยังมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการลดอัตราการไหลซึมของน้ำลงไปในดินอีกด้วย ดังนั้นเมื่อมีฝนตกเป็นระยะเวลานาน ๆ แล้ว ย่อมจะเกิดน้ำท่าได้มากเช่นกัน แม้ว่าอัตราความเข้มของฝนที่ตกในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำอยู่ในเกณฑ์ปานกลางก็ตาม

2.3 การแผ่กระจายของฝนที่ตกในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำ สภาพฝนที่ตกแผ่กระจายสม่ำเสมอตลอดทั่วพื้นที่ลุ่มน้ำ จะทำให้เกิดน้ำท่าไหลมาจำนวนมาก สำหรับลุ่มน้ำขนาดใหญ่การเกิดน้ำท่วมมักจะเนื่องมาจากฝนธรรมดา ที่ตกครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของลุ่มน้ำมากกว่าฝนตกหนึกแต่ตกไม่แผ่กระจายไปตลอดทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำ

3. ลักษณะและส่วนประกอบของพื้นที่ลุ่มน้ำ ลักษณะรูปร่างของพื้นที่ลุ่มน้ำ ซึ่งได้แก่ ความยาว และความกว้างของพื้นที่ลุ่มน้ำโดยเฉลี่ย ระดับความสูง และความลาดชันของพื้นที่ในเขตลุ่มน้ำ ชนิดของดิน สภาพพืชที่ปกคลุมพื้นที่ ความชุ่มชื้นของดินก่อนฝนตก ตลอดจนแนวทิศทางของพื้นที่ลุ่มน้ำ ฯลฯ ต่างก็เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจำนวนน้ำท่าไหลบนผิวดินลงสู่ลำน้ำต่าง ๆ

แหล่งค้นหา
http://www.irrigroup.com/index.